top of page

ความแตกต่างของสีย้อมหนังสูตรน้ำ BT.Standard Color ทั้ง 3 ชนิด

เนื่องจากเมื่อสัปดาห์ก่อน มีลูกค้าจากเวียดนามถามถึงความแตกต่าง ของผลิตภัณฑ์สีย้อมหนังของเรา จึงเกิดเป็นบทความนี้ขึ้นมาเพื่อให้ความกระจ่างแก่ตัวผลิตภัณฑ์ครับ



BT.Standard Color หรือสีย้อมหนังสูตรน้ำ แบคทัช มี 3 ชนิดด้วยกัน

ตัวแรก BT.Standard Color, Product code D.1.1-FSW, Fine standard water-base color, leather paint

ตัวที่สอง BT.Standard Color, Product code D.1.2-FCW, Fine standard customized water-base color, leather paint.

ตัวที่สาม BT.Standard Brand Color, Product code D.1.3-FBW, Fine standard brand water-base color, leather paint.

โดยพื้นฐานแล้วทั้งหมดเป็นสีย้อมหนังสูตรน้ำ ที่มีคุณสมบัติช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเครื่องหนังได้ดังนี้ สีย้อมหนังชนิดนี้จะเคลือบผิวด้านบนของหนัง เพื่อซ่อนคราบ รอยหมึก แก้ไขรอยขีดข่วน แก้ไขหนังที่ซีดจาง และบิดบังรอยดูดสี

จุดแตกต่างระหว่างสีหนังทั้ง 3 แบบที่กล่าวถึงข้างต้นคือเฉดสีและโทนสีของหนัง

สีย้อมหนังมาตรฐานชนิดแรก BT.Standard Color, Product code D.1.1-FSW, Fine standard water-base color, leather paint. สีหนังประเภทนี้ประกอบด้วยสีพื้นฐาน เช่น ดำ ขาว แดง เหลือง น้ำเงิน และอื่นๆ ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นแม่สี หรือสีขั้นที่ 1 และสีขั้นที่ 2


สีย้อมหนังประเภทที่ 2, BT.Standard Color, Product code D.1.2-FCW, Fine standard customized water-base color, leather paint. สีหนังประเภทนี้ไม่มีชาร์ทสีแบบ "PICK & PAINT" ให้เลือกเพราะต้องส่งกระเป๋าต้นแบบ หรือชิ้นหนังจริงมาที่ โรงงานของเราผลิตสีหนังเฉพาะตัวสำหรับแก้ไขกระเป๋าถือใบนั้น ๆ ปกติ สีประเภทนี้จะผสมกันยากมากเพราะใช้สีผสมกันมากกว่า 6 สี เพื่อให้ใกล้เคียงกับกระเป๋าต้นแบบที่ส่งมา โดยจะมีการเทสลงไปบนกระเป๋าใบนั้น ๆ เลย เพื่อให้ได้สีที่ถูกต้องที่สุด




สีย้อหนังประเภทสุดท้าย ประเภทที่ 3, BT.Standard Color, Product Code D.1.3-FBW, Fine Standard brand water-base color, leather paint. ประเภทนี้มีสีพรีมิกซ์ หมายถึงผสมให้แล้ว โดยในโทนสีต่างๆ ทั้งหมดในชุดนี้จะใกล้เคียงกระเป๋าแบรนด์เนม ที่เป็นที่นิยม โดยเราได้รวบรวมตัวอย่างสีจากกระเป๋าใบจริง และแยกเป็นชุดสีตามแบรนด์ของกระเป๋าที่เป็นที่นิยม

อย่างไรก็ตาม พวกสีย้อมหนังทั้ง 3 ประเภทนี้ มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการนำไปใช้ โปรดติดตามเราอ่านข้อดีข้อเสีย และความเหมาะสมในการใช้งานในบทความต่อไปนะครับ

ดู 47 ครั้ง

Comments


bottom of page