ไอเดียในการทำความสะอาดกระเป๋าหลุยส์ และการเทคนิคการดูแลหนังคาวไฮด์ในแบบต่าง ๆ
หลาย ๆ ท่านในธุรกิจ การทำความสะอาดกระเป๋า หรือ ที่เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า “สปากระเป๋า” ส่วนมากแล้ว เรารู้กันดีว่า การทำความสะอาดกระเป๋าหลุยส์ ที่มีคาวไฮด์เป็นองค์ประกอบนั้น มีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก เนื่องจาก กระเป๋าหลุยส์ ที่มีคาวไฮด์เป็นองค์ประกอบนั้น เป็นที่นิยมทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก อีกทั้งหนังคาวไฮด์ในกระเป๋าหลุยส์นั้น ขึ้นชื่อว่าเป็น หนึ่งในประเภทหนัง ที่ดูแลยากที่สุด ซึ่งน้ำยาทำความสะอาดกระเป๋าหลุยส์ หรือวิธีทำความสะอาดกระเป๋าหลุยส์และคาวไฮด์ให้กลับมาดูเหมือนใหม่ เป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่เสมอ ว่าทำอย่างไรกระเป๋าหลุยส์และหนังคาวไฮด์จะกลับมาสะอาดและขาวสวยเหมือนครั้งแรกที่ได้เห็น ซึ่งในบางครั้งการดูแลกระเป๋าหลุยส์ 1 ใบ อาจใช้มากกว่า 1 เทคนิคในการดูแล ก็เป็นได้ ซึ่งในบทความนี้เป็นการนำเสนอ วิธีการทั้งหมด เพื่อให้ได้ภาพรวมหรือผลที่ดีที่สุดในการดูแลกระเป๋าหลุยส์แสนรักของลูกค้าคุณ
ก่อนที่จะเราจะไปถึงวิธีการทำความสะอาดนั้น ขั้นแรก เราควรวิเคราะห์ดูก่อนว่ากระเป๋าหลุยส์ใบนั้น ๆ มีปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งในบทความนี้ขอแยก ปัญหาหลัก ๆ ไว้ 3 หัวข้อหลัก
1. การทำความสะอาดคาวไฮด์ของกระเป๋าหลุยส์
ที่มีคราบสกปรกธรรมดา ซึ่งในกรณีนี้หมายความว่า คาวไฮด์บนกระเป๋าหลุยส์ที่กำลังจะทำความสะอาดนั้นต้องไม่มีการฉีกขาด หรือแตกเป็นร่อง ในกรณีนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ควรใช้ คือ BT.Cowhide Cleansing Set โดยดูวิธีการทำได้ตามลิงค์เลยค่ะ
2. การซ่อมแซมคาวไฮด์ของกระเป๋าหลุยส์ ที่แตกเป็นร่อง ฉีกขาด หรือมีคราบสกปรกที่ไม่สามารถขจัดได้ รวมถึงคาวไฮด์ของกระเป๋าหลุยส์ที่เก่าเกินไป
ซึ่งหากฝืนทำความสะอาดอาจเกิดความเสียหายมากกว่าเดิม
2.1 กรณีทีฉีกขาด ให้ทำความสะอาดคาวไฮด์ชิ้นนั้น ๆ ให้เสร็จก่อนด้วยผลิตภัณฑ์การทำความสะอาดตามปกติ (BT.Cowhide Cleansing Set) หรือหากต้องการซ่อมแซมเฉพาะจุด ให้ทำความสะอาดด้วย BT.Surface Cleaner ก่อนจึงเริ่ม ติดกาวในส่วนที่ฉีกขาดด้วย BT.20 Seconds Glue จากนั้นใช้ครีมอุดหนัง BT.Hole Repair (สำหรับหนังเป็นรู หรือแตกเป็นร่องลึก) หรือ BT.Crack Repair (สำหรับหนังแตกเป็นร่องตื้น ๆ แต่กระจายทั่วบริเวณ) ใช้เกรียงขนาดเล็กหรือนิ้วมือในการปาดครีม เมื่อครีมแห้งสนิทดีแล้วให้ขัดแต่งด้วยกระดาษทรายละเอียด (เบอร์ 1500) จากนั้นให้ใช้ BT.Standard Color : FBW (Fine Standard Brand Water Base Color) เลือกเฉดคาวไฮด์ที่ใกล้เคียงเป็นสีตั้งต้น และผสมสีเพิ่มเติมให้ใกล้เคียงกับคาวไฮด์ที่เราได้ทำความสะอาดพื้นผิวไว้แล้วให้มากที่สุด เมื่อสีแห้งสนิทให้เคลือบสีด้วย BT.Color Coating โดยเลือกระดับความเงา-ด้านที่ต้องการ
2.2 กรณีมีคราบสกปรกฝังแน่นที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ หรือกรณีที่คาวไฮด์มีสีดำคล้ำมาก จริง ๆ แล้วในกรณีนี้การทำความสะอาดตามปกติ อาจจะทำได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ต้องใช้น้ำยาในการทำความสะอาดปริมาณมาก ทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าปกติ, ใช้เวลาในการทำงานนานกว่าปกติ และมีความเสี่ยงจากความเสียหายในการทำงานสูง
ดังที่กล่าวมาข้างต้น การทำสีจึงเป็นทางเลือกที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งในกรณีนี้เราสามารถเลือกทำสีเพียงหนังบางชิ้นในกระเป๋าทั้งใบได้ เพียงปรับสีและความเงา-ด้านให้เหมือนส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ทำสี ภาพรวมก็จะดูกลมกลืนทั้งใบ และลดความเสี่ยงอื่น ๆ ไปได้มากทีเดียวค่ะ
ข้อดีของวิธีการทำสีมีมากมายดังที่กล่าวมาข้างต้น และข้อดีอีกประการ ก็คือ เราสามารถเก็บรายละเอียดความเป็นออริจินอลของกระเป๋าหลุยส์ไว้ได้เช่น ฝีเข็มฯลฯ แต่ข้อเสียงของการทำสีคือ ประเภทของหนังที่เปลี่ยนไปจาก Unfinished Leather เป็น Finished Leather ซึ่งจะมีวิธีดูแลที่แตกต่างกันไป
รายการน้ำยาที่แนะนำสำหรับการดูแลคาวไฮด์ของกระเป๋าหลุยส์ในกรณีนี้
- BT.Hole Repair หรือ BT.Crack Repair
3. การเปลี่ยนชิ้นหนังด้วย หนังอะไหล่สำเร็จรูป (หนังคาวไฮด์ใหม่)
กรณีนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัญหา เช่น การฉีกขาดมากเกินไปจนยากแก่การซ่อมแซม หรือบางครั้งแทนทีจะทำสี ลูกค้าอาจต้องการให้เปลี่ยนหนังชิ้นใหม่เนื่องจากต้องการคงความเป็นธรรมชาติของหนังไว้ หรือในความเป็นจริงแล้วอาจจะยังสามารถทำความสะอาดได้ แต่มีความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ สูงเกินไป
เราอาจแนะนำให้คุณทดลองทำความสะอาดดูก่อนเพื่อเป็นประสบการณ์ แต่หากคุณมีประสบการณ์ในการทำความสะอาดกระเป๋าหลุยส์แล้วคุณจะทราบดีว่าในกรณีนี้ การเปลี่ยนชิ้นหนังใหม่เป็นทางเลือกที่ดีมากทีเดียว
ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำในการเปลี่ยนชิ้นหนังใหม่ มีดังนี้
3.1 Instant Spare Part ชิ้นหนังอะไหล่สำเร็จรูป หรือชิ้นหนังสั่งตัด ซึ่งจะมีสีขาวอมชมพู ไปจนถึงสีน้ำตาลอ่อน ตามแต่ล๊อตการผลิตหนังนั้น ซึ่งอาจจะมีสีที่อ่อนเกินไปเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ทำสีของกระเป๋าใบเดียวกัน ดังนั้นจึงควรย้อมให้สีเข้มขึ้น เท่ากับส่วนที่ไม่ได้เปลี่ยนหนังด้วยชิ้นหนังอะไหล่สำเร็จรูป ของกระเป๋าใบเดียวกัน
3.2 BT.Standard Dye Color : FBD (Fine Brand Dye Color) ใช้คู่กับตัวเจือจาง BT.Standard Dye Color Dilute สีประเภทนี้เป็นสีสำหรับย้อมคาวไฮด์ เพื่อปรับสีคาวไฮด์ให้เข้มขึ้น และดูกลมกลืนกับส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เปลี่ยนด้วยชิ้นหนังในกระเป๋าหลุยส์ใบเดียวกัน ซึ่งสีย้อมประเภทนี้จะเป็นการย้อม โดยเนื้อสีจะซึมเข้าไปในโครงสร้างหนัง ซึ่งไม่ทำให้ชนิดของหนังเปลี่ยนไป ยังคงความเป็นหนังคาวไฮด์ธรรมชาติดังเดิม
3.3 BT.Standard Edging Color : BEW (Brand Edging Water Base Color) เนื่องจากวัสดุส่วนที่เป็นหนังคาวไฮด์ของกระเป๋าหลุยส์ ส่วนที่เป็นขอบหนังจะมีการเคลือบไว้ด้วยสียาวแนวเป็นโทนออกแดง อาจจะมีแดงเข้ม หรือแดงสด ตามอายุ และล๊อตการผลิตของกระเป๋าหลุยส์นั้น ๆ ดังนั้นหลังจากที่ย้อมสีเสร็จเราควรเก็บขอบด้วยสีทาขอบหนังที่ใกล้เคียงกับส่วนอื่น ๆ เช่นกัน หากบางรุ่นที่มีขอบที่หนา ให้เลือกเฉดสีให้ใกล้เคียงและทาได้เลย แต่บางรุ่นที่ขอบหนังบาง ให้ผสมด้วย BT.Standard Edging Color Dilute เพื่อให้สีเหลวขึ้นและสามารถเกลี่ยได้บางเหมือนต้นแบบ
ข้อสังเกตในการฟื้นฟูกระเป๋าหลุยส์ คือ ในกระเป๋าหนึ่งใบ ซึ่งมีส่วนที่เป็นหนังกระจายอยู่หลายจุด ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการเดียวกันทั้งหมดในการดูแล ยกตัวอย่างเช่น ภาพซ้ายด้านบน ส่วนของหนังที่เป็นสายล๊อคกระเป๋ามีคราบสกปรกธรรมดา เราจึงใช้วิธีทำความสะอาดตามปรกติภาพ และใช้สีของสายล๊อคกระเป๋าหลังทำความสะอาดแล้ว เป็นตัวอย่างเพื่อผสมสี สำหรับทำสีในจุดอื่น ๆ ที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ หรือไม่คุ้มที่จะทำความสะอาด ภาพขวาเราใช้สีตัวอย่างจากสายล๊อคกระเป๋าหลังทำความสะอาดมาเป็นต้นแบบในการผสมสีเพื่อทำสีแผ่นหนังก้นกระเป๋า ที่ทำจากหนังคาวไฮด์ชิ้นใหญ่ซึ่งมีความยากและสิ้นเปลือง ในการทำความสะอาดทั้งในด้านของเวลาและน้ำยาที่ใช้ เราจึงต้องใช้สายล๊อคกระเป๋าเป็นสีต้นแบบในการผสมสี แต่ไม่ได้ใช้สีเดิมของก้นกระเป๋าเป็นต้นแบบในการผสมสีค่ะ เนื่องจากหนังส่วนอื่น ๆ ของกระเป๋าใบเดียวกันเมื่อทำความสะอาดแล้วจะมีสีเหมือนสายล๊อคกระเป๋านั่นเอง
สรุปก็คือหนังแต่ละตำแหน่งบนกระเป๋าหลุยส์นั้น อาจมีปัญหาที่แตกต่างกัน ควรเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับปัญหานั้น ๆ เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดในทุก ๆ ด้าน ในการฟื้นฟูกระเป๋าหลุยส์ที่มีคาวไฮด์เป็นส่วนประกอบค่ะ
ลองอ่านและทำตามดูนะคะ
Comments