top of page

5 ขั้นตอน การย้อมสีหนังให้สวยเนี๊ยบ


หากกล่าวถึงสีย้อมหนัง การใช้สีย้อมหนัง เพื่อย้อมกระเป๋าหนัง หรือรองเท้าหนังคู่เก่าให้ดูเหมือนใหม่นั้น หากเข้าใจหนัง และเข้าใจขั้นตอนการใช้สีย้อมหนังที่ถูกต้อง คุณภาพงาน หลังใช้สีย้อมหนังนั้น จะแทบไม่ต่างจาก Original เลยค่ะ บทความนี้จะช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาใช้สีย้อมหนังแล้วสีหนากลบลายหนัง หนังแข็ง หรือสีลอก ได้เข้าใจถึงสาเหตุ ว่าทำไม การย้อมหนังแต่ละงาน จึงได้ผลงานที่แตกต่างกันไป ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ทั้ง ๆ ที่ใช้สีย้อมตัวเดียวกัน ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงการลงสีย้อมหนัง สูตรน้ำ ซึ่งเป็นสีย้อมหนังที่ขายดี และคนนิยมใช้มากที่สุดค่ะ

1. การล้างหนัง ก่อนลงสีย้อมหนัง เป็นส่วนที่สำคัญมาก ที่คนมักจะมองข้าม เนื่องจากหนังแต่ละประเภท มีปัญหาที่แตกต่างกัน ทำให้วิธีล้างหรือสารเคมี ที่ใช้ล้างหนังมีความแตกต่างกันไป ดังนี้ค่ะ

1.1 หากหนังเป็น Unfinished (เทสง่าย ๆ โดยการใช้ Leather Ink Remover จุดลงไปบนหนัง หากหนังขึ้นเป็นจุดดำ หรือคือเปียก แปลว่าเป็น Unfinished ค่ะ) หนังประเภทนี้มีอัตราการดูดซึมสูงทำให้สีติดง่าย ใช้เพียง BT.Surface Cleansing Mousse

1.2 หากวัสดุเป็นหนังเทียมหรือ Coated Canvas แนะนำให้ทำความสะอาดด้วย BT.Surface Cleansing Mousse เท่านั้นค่ะ หากใช้สารเคมีที่แรงกว่านี้ อาจทำให้ผิวละลายได้ค่ะ

1.3 หากหนังเป็น Unfinished แต่มีการสะสมคราบเหงื่อคราบไขมันจาก Hand Cream หรือโลชั่น ซึ่งปัญหานี้มักจะเกิดบริเวณที่มือสัมผัสบ่อยครั้ง เช่น หูกระเป๋า หรือขอบกระเป๋าเงิน จะทำให้หนังดูเหมือนเปียกชื้น หรือเป็นคราบเหลือง ปัญหานี้แก้ได้โดยการใช้ BT.Grease Remover ล้างซ้ำ หลังใช้ BT.Surface Cleansing Mousse แล้ว เพื่อขจัดคราบไขมันฝังแน่นออก

1.4 หากเป็นหนัง Finishined (เทสได้ด้วยการใช้ Leather Ink Remover จุดลงไปบนหนัง หนังจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง) หนังประเภทนี้มีอัตรการดูดซึมต่ำ แต่ในขณะเดียวกันในการทำสีมักจะมีปัญหาสีลอก เนื่องจากหนังไม่ดูดซึมสีเลย ดังนั้นก่อนการทำสีควรล้างด้วย BT.Coating Remover เพื่อขจัดสีเดิมและตัวเคลือบหนังที่เป็นชั้นหนาออกไปก่อนเพื่อเพิ่มอัตราการดูดซึมของหนัง

1.5 หากเทสแล้ว หนังเป็น Finishined แต่จับดูยังรู้สึกว่ามีความนุ่มนิ่ม อาจจะเป็นเพราะเคลือบสีมาบาง ในกรณีนี้ ใช้เพียง BT.Ethanol Rinse เพื่อล้างสีและตัวเคลือบเดิมออกก็สามารถลงสีรองพื้นตามได้เลยค่ะ

ภาพด้านบนซ้ายสุดจะเป็นก่อนการล้าง ภาพกลางเป็นภาพหนังที่ล้างแล้ว ภาพขวาสุดเป็นหลังย้อมสีแล้ว หนังที่พร้อมสำหรับการย้อมสีนั้น จะต้องแห้งและด้าน (ไม่มีความเงา) เหมือนภาพด้านบนตรงกลาง สีจะติดทนทานค่ะ

2. การรองพื้นหนัง ขั้นตอนนี้เป็นการใช้ BT.Color Base หลังจากลงบนหนังแล้วรอให้น้ำยาซึงลงหนังบางส่วน จับดูจะต้องรู้สึกหมาดและหนึบมือ จึงลงสีตาม เป็นการเพิ่มอัตราการยึดเกาะของสีให้สีชั้นแรกติดทนขึ้น

3. คุณภาพของสีย้อมหนัง BT.Standard Color เป็นหัวใจหลักในการย้อมหนังก็ว่าได้ค่ะ เพราะไม่ว่าจะล้างหนังดีอย่างไร แต่หากคุณภาพสีไม่มีความยืดหยุ่น ไม่เหมาะกับการใช้บนหนัง สีก็จะแตกและลอกอยู่ดี แต่หากล้างหนังดีแล้วประกอบกับคุณภาพสีที่ดีเยี่ยม ขั้นตอนการลงสีย้อมหนังก็เป็นเรื่องง่าย สีย้อมหนังสูตรน้ำเป็นสีโปร่งแสงคือเมื่อลงไปชั้นแรก ๆ จะยังสามารถเห็นพื้นหนังเดิมอยู่ การลงสีควรลงบาง ๆ แต่หลาย ๆ ชั้น แต่ละชั้นต้องแห้งสนิท ไม่ควรลงหนา เนื่องจากเป็นเหตุให้สีจับตัวเป็นก้อนและหลุดลอกได้ง่าย เทคนิคการลงก็สีย้อมหนังก็สำคัญนะคะ แล้วจะกล่าวในบทความต่อไปค่ะ

4. ระดับความข้นของสีย้อมหนัง สามารถปรับได้ด้วยการเติม BT.Color Dilute ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การลงสีนั้นเรียบเนียน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่อธิบายได้ค่อนข้างยาก ว่าข้นหรือใสแค่ไหนจึงจะดีที่สุด เนื่องจากเป็นส่วนที่ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแต่ละเฉพาะบุคคล และความข้นที่เหมาะกับอุปกรณ์การลงสีแต่ละชนิดด้วยค่ะ

5. การเคลือบหนัง เมื่อลงสีเสร็จแล้วควรเคลือบหนังด้วย BT.Coating : Gloss (เงา), Semi Gloss (กึ่งเงา), Neutral (ธรรมชาติ), Semi Matt (กึ่งด้าน), Matt (ด้าน) อาจจะใช้เพียง 2 ตัว Gloss, Matt ผสมกันเพื่อให้ได้ความเงาด้านที่ต้องการ หรือใช้ Bone ตัวเดียว ซึ่งจะมีค่าความเงา กลาง ๆ ไม่เงาเกินไป ไม่ด้านเกินไป แล้วลงทับบนสีที่แห้งสนิท จะทำให้สีติดทนแข็งแรง และได้ความเงาด้านที่เหมือน Original ค่ะ


หากสับสน เรามีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำนะคะที่ Line : @bagtouch สอบถามมานะคะ เรายินดีแบ่งปันความรู้เพื่อยกระดับวงการสปากระเป๋าของประเทศไทยค่ะ


ดู 3,552 ครั้ง

Коментарі


bottom of page